Connect with us

News

นักวิชาการอเมริกันเผย 9 ประเทศ แบนเครือข่ายโซรอส

Published

on

“Dr.Steve Turley” นักวิชาการอเมริกันเผย 9 ประเทศแบนเครือข่ายโซรอส

วันที่ 14 ตุลาคม 2020 ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ (Dr.Steve Turley) นักวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น สหรัฐอเมริกา เปิดเผยข้อมูลใหม่ว่า มีหลายประเทศที่เริ่มต่อต้าน และสกัดกั้นนายจอร์จ โซรอส (George Soros) อภิมหาเศรษฐีผู้เป็นนายทุนขบวนการโลกาภิวัฒน์นิยม (Globalism) และเครือข่ายของนายโซรอสในหลายประเทศก็เริ่มถูกแบนมากขึ้นเรื่อยๆ

ดร.สตีฟ ระบุว่าตัวของนายโซรอสก็ยอมรับเองว่า ฝ่ายของตนเองกำลังเสียเปรียบ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2019 นายโซรอสเคยกล่าวว่า “Open Societies Are Under Threat” ซึ่งสามารถตีความหมายได้ 2 แบบ คือ สังคมเปิดเสรีกำลังถูกคุกคาม หรือ มูลนิธิ Open Society Foundations (OSF) ของนายโซรอสกำลังถูกคุกคาม สอดคลอดกับข้อมูลที่ดร.สตีฟร่วมรวมมานำเสนอว่า มีประเทศไหนบ้าง ที่ดำเนินนโยบายต่อต้านและแบนเครือข่ายของนายโซรอส ซึ่งมีดังนี้

1. ฮังการี

บูดาเปสต์ เมืองหลวงของประเทศฮังการี ถือเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของนายโซรอส แต่รัฐบาลฮังการี ที่นำโดยนายวิกเตอร์ ออร์บาน (Viktor Orban) นายกรัฐมนตรีฮังการี ได้ออกกฎหมายต่อต้าน NGOs และเครือข่ายของนายโซรอส

ถึงแม้ว่า นายวิกเตอร์ ออร์บาน จะเคยได้รับทุนการศึกษาจากเครือข่ายของนายโซรอส เพื่อไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แต่เมื่อเขากลับมาลงเล่นการเมือง และไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายออร์แบนมองเห็นว่า NGOs และเครือข่ายของนายโซรอส บั่นทอนเสถียรของฮังการี ด้วยการลักลอบพาผู้อพยพจากประเทศอื่น เข้ามาภายในฮังการีมากจนเกินไป 

รัฐบาลฮังการี ภายใต้การนำนายออร์แบน จึงได้ผ่านร่างกฎหมายที่มีชื่อว่า “Stop Soros” ซึ่งเป็นกฎหมายที่เพิ่มภาษีและดำเนินคดี NGOs ในเครือข่ายของนายโซรอส ที่ลักลอบพาผู้อพยพเข้าประเทศ แล้วผลที่เกิดขึ้นก็คือ องค์กร Open Society Foundations (OSF) ต้องปิดตัวลงในเดือนธันวาคม ปี 2018 เนื่องจากกฎหมาย “Stop Soros” ทำให้ OSF ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจในฮังการีต่อไปได้ ทำให้ต้องย้ายองค์กรและบุคลากรทั้งหมด จากฮังการี ไปยังกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

และในช่วงเวลาเดียวกันนั่นเอง มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลยูโรเปียน (Central European University – CEU) สถาบันการศึกษาในกรุงบูดาเปสต์ ที่นายโซรอสเป็นผู้ก่อตั้ง ก็ถูกรัฐบาลฮังการีปฏิเสธการต่อใบอนุญาตสถานศึกษา ทำให้มหาวิทยาลัย CEU ต้องประกาศย้ายสถานศึกษาและบุคลากรทั้งหมด ไปที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

2. โปแลนด์

เดือนสิงหาคม 2018 รัฐบาลโปแลนด์ออกคำสั่งให้ขับไล่ชาวยูเครนรายหนึ่ง ออกจากประเทศโปแลนด์ กลับไปยังประเทศยูเครน ซึ่งชาวยูเครนรายนี้ เป็นผู้บริหารองค์กรคนสำคัญในเครือข่ายของนายโซรอส 

โดยรัฐบาลโปแลนด์ระบุว่า ชาวยูเครนรายนี้ กระทำผิดว่าด้วยระบบฐานข้อมูลเชงเกนของสหภาพยุโรป (SIS – Schengen Information System) และมีพฤติกรรมที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของโปแลนด์ จึงทำให้ผู้บริหารเครือข่ายโซรอสชาวยูเครนรายนี้ ถูกขึ้นบัญชีห้ามเข้าประเทศโปแลนด์ และห้ามเข้าประเทศอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

3. มาซิโดเนีย

ประเทศมาซิโดเนีย หรือสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย เป็นประเทศหนึ่งในทางตอนใต้ของยุโรป ที่อยู่ติดกับประเทศกรีซและประเทศบัลแกเรีย ซึ่งภายในประเทศมาซิโดเนีย มีขบวนการที่มีชื่อว่า “Stop Operation Soros” (SOS) หรือ “หยุดปฏิบัติการณ์ของโซรอส” 

Soros Collusion in Macedonia

ซึ่งขบวนการ SOS ก่อตั้งโดย VMRO-DPMNE พรรคการเมืองขวากลางในมาซิโดเนีย ที่มีเป้าหมายหลักในการถอนรากถอนโคนเครือข่ายของโซรอส หรือ “de-Soros-isation” ด้วยการเปิดโปงเครือข่ายองค์กรที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนายโซรอส และผลักดันให้เกิดการเนรเทศองค์กรเหล่านี้ ออกไปจากมาซิโดเนีย

4. รัสเซีย

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2015 รัฐบาลรัสเซียได้ประกาศยุบองค์กรเครือข่ายของนายโซรอส เนื่องจากเครือข่ายของนายโซรอส มีพฤติกรรมที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัสเซีย และเป็นภัยคุกคามต่อรัฐธรรมนูญรัสเซีย 

ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ ระบุว่า กฎมายของรัสเซียนั้นพยายามคุ้มครองศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของรัสเซีย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เครือข่ายของนายโซรอส พยายามบั่นทอนและทำลาย ทำให้รัฐบาลรัสเซียมองว่า เครือข่ายของนายโซรอสเป็นภัยความคงต่อรัสเซีย

รัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) จึงได้ผ่านร่างกฎหมายห้ามไม่ให้องค์กรต่าง ๆ ในรัสเซีย รับเงินจากเครือข่ายของนายโซรอส พร้อมกับยุบองค์กรในเครือข่ายทั้งหมดของนายโซรอส

5. ตุรกี

ภายใต้การบริหารงานของนาย นายเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน (Recep Tayyip Erdoğan) ประธานาธิบดีตุรกี รัฐบาลตุรกีสืบทราบว่า Open Society Foundations (OSF) และองค์กรในเครือข่ายของนายโซรอส เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการประท้วงที่รุนแรงอย่างมากเมื่อปี 2013 (The 2013 Gezi Park protests) ทำให้องค์กร OSF และเครือข่าย ต้องปิดตัวลง และย้ายออกไปจากตุรกีอย่างถาวร

6. ปากีสถาน

Road to Freedom; The Universal Birthright - PKKH.tv

เดือนธันวาคม ปี 2017 มูลนิธิ OSF และองค์กรเครือข่ายของนายโซรอสในปากีสถาน ถูกรัฐบาลปากีสถานปฏิเสธการต่อใบอนุญาตองค์กร NGO ทำให้องค์กรเครือข่ายของนายโซรอสต้องปิดตัวลง และย้ายออกไปจากปากีสถาน แต่ทั้งนี้ ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ ระบุว่า รัฐบาลปากีสถานไม่ได้อธิบายว่า เหตุใดถึงปฏิเสธการต่อใบอนุญาตของ OSF

7. ฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ถือเป็นประเทศแรกในอาเซียน ที่ต่อต้านนายจอร์จ โซรอส อย่างแข็งกร้าว โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต (Rodrigo Duterte) ประกาศเตือนไปยังนายโซรอสว่า ถ้าหากนายโซรอสก้าวเท้าเข้ามาในประเทศฟิลิปปินส์ จะมีการตั้งค่าหัวไล่ล่านายโซรอส

ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ ระบุว่า ประธานาธิบดีดูเตอร์เต ประณามนายโซรอส ในฐานะผู้ทำลายเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประธานาธิบดีดูเตอร์เตก็ดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นนโยบายที่ตรงกันข้ามกับนายโซรอส ที่ต้องการทำให้ยาเสพติดถูกกฎหมายทั่วโลก

8. สิงคโปร์

เดือนเมษายน 2018 รัฐบาลสิงคโปร์มีคำสั่งห้ามออกใบอนุญาต ให้กับบริษัทเอกชนบริษัทหนึ่ง เนื่องจากรัฐบาลสิงคโปร์พบว่า บริษัทเอกชนรายนี้ ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก Open Society Foundations และบริษัทเอกชนรายนี้ก็มีความเชื่อมโยงกับสื่อแห่งหนึ่งในสิงคโปร์อีกด้วย

9. บราซิล

หลังจากเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีบราซิล เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2019 ได้ไม่กี่วัน นายฌาอีร์ โบลโซนารู (Jair Bolsonaro) ก็ได้สั่งให้รัฐบาลบราซิล จับตามองและควบคุมกิจกรรมขององค์กร NGOs ทั้งยังสั่งให้ตรวจสอบแหล่งเงินทุนที่สนับสนุน NGOs อีกด้วย 

แม้ว่าจะไม่ได้ประกาศโดยตรงว่า เป็นนโยบายที่มีไว้ใช้กับเครือข่ายของนายโซรอส แต่ชาวบราซิลเห็นว่า ประธานาธิบดีฌาอีร์ มีความกังวัลเรื่อง NGOs ที่พยายามควบคุมชาวบราซิล (manipulate) และพยายามหลอกใช้ประโยชน์จากชาวบราซิล (exploit) ชาวบราซิลจึงมองว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ใช้สกัดกั้นเครือข่ายของนายโซรอส ซึ่งเป็นนโยบายที่คล้ายกับหลาย ๆ ประเทศที่แบนองค์กรในเครือข่ายโซรอส

ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ ระบุว่า เครือข่าย NGOs และ Open Society Foundtions ของนายโซรอส ถูกรัฐบาลบราซิลจับตามอง และถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ซึ่งถ้าหากรัฐบาลบราซิลพบว่า เครือข่ายของนายโซรอสกลายเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ รัฐบาลบราซิลก็สามารถสั่งปิดองค์กรได้ หากเห็นว่าจำเป็น


จากการที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มต่อต้าน และเริ่มสกัดกั้นองค์กรในเครือข่ายของนายโซรอส ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ จึงประเมินว่า กระแสอนุรักษ์นิยมทั่วโลกจะยิ่งเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม พร้อมกับชี้ให้เห็นว่า นายโซรอสก็รับรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดีว่า กระแสชาตินิยมทั่วโลกกำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ 

จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีข่าวเมื่อเดือนมกราคม ปี 2020 ที่เปิดเผยว่า นายโซรอสได้ทุ่มทุนเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ (3.1 หมื่นล้านบาท) เพื่อสู้กับกระแสชาตินิยมทั่วโลก แต่ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ กลับมองว่า เงิน 1 พันล้านดอลลาร์ของนายโซรอส ไม่สามารถเอาชนะประเพณี วัฒนธรรม และความรักชาติในประเทศต่าง ๆ ได้ และดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ ก็มองว่า ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะกลายเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะในอนาคต ซึ่งเป็นอนาคตที่จอร์จ โซรอส จะหมดอำนาจ


แหล่งข่าว

– https://www.facebook.com/turleytalks/posts/2713078578961428

– https://youtu.be/OJ_RJVi1-iI


ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่

Website : http://www.thailandvision.co

Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion

Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision

Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision

Continue Reading
Advertisement

News

Failจัด! สื่อนอกชี้ม็อบปลดแอกปลุกแบนสินค้า แต่ไม่มีใครสนใจ

Published

on

วันที่ 4 ตุลาคม 2563 นายโทนี คาร์ตาลัคซี (Tony Cartalucci) ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ได้เขียนบทความวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทย ลงในเว็บไซต์ข่าว The Alternative Thai News Network (AltThaiNews – ATN) อธิบายให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ล้มเหลว ของม็อบปลดแอก และฝ่ายค้านบางกลุ่มที่สนับสนุนม็อบฯ

นายโทนีอธิบายว่า กลุ่มการเมืองเหล่านี้ เคยอ้างว่าเป็นตัวแทนของคนไทยเสียงส่วนใหญ่ แต่การเลือกตั้งเมื่อปี 2562 กลุ่มการเมืองเหล่านี้ กลับไม่ได้รับชัยชนะ ทั้งยังพ่ายแพ้การเลือกตั้งซ่อมในหลาย ๆ ครั้งอีกด้วย ส่วนการระดมมวลชนมาชุมนุมที่ท้องสนามหลวงเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา ก็ไม่ได้มีมวลชนเต็มท้องสนามหลวง แต่จำนวนมวลชนในม็อบมีไม่ถึง 1 ใน 3 ของพื้นที่ท้องสนามหลวง และมวลชนที่มาร่วมชุมนุม ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีจำนวนมากกว่าม็อบที่อ้างว่าเป็นเยาวชนนักศึกษา

นายโทนียังระบุอีกด้วยว่า ความเคลื่อนไหวของม็อบปลดแอก ที่พยายามแบนหรือบอยคอตภาพยนตร์ ธุรกิจ และสถาบันการเงิน ล้วนแล้วเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ได้ว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยกับกลุ่มการเมือง และม็อบปลดแอก โดยภาพยนตร์ ธุรกิจ และสถาบันการเงิน ที่ม็อบและกลุ่มการเมืองบอยคอตไม่สำเร็จมีดังนี้

  1. ภาพยนตร์ ‘มู่หลาน’

การบอยคอตภาพยนตร์เรื่อง ‘มู่หลาน’ (Mulan) พร้อมกับโพสต์ข้อความติดแฮชแท็ก #BanMulan ใน Twitter เป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างประเทศ ที่นำโดยแกนนำม็อบฮ่องกง ซึ่งเชื่อมโยงกับเครือข่ายกลุ่มการเมือง ทั้งในไต้หวันและไทย เป็นเครือข่ายภาคีชานม หรือ “Milk Tea Alliance” 

ส่วนการบอยคอตเรื่อง ‘มู่หลาน’ ในประเทศไทยนั้น เป็นการเคลื่อนไหวที่นำโดยนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ซึ่งบรรดาม็อบและกลุ่มการเมืองในไทย ต่างก็พร้อมใจกันบอยคอตภาพยนตร์ ‘มู่หลาน’ และติดแฮชแท็ก #BanMulan จนกลายเป็นเทรนด์อันดับต้น ๆ ใน Twitter ของไทย แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นกลับตรงกันข้าม 

เมื่อภาพยนตร์ ‘มู่หลาน’ สามารถกวาดรายได้ทั่วประเทศไทยมากถึง 50 ล้านบาทภายในไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ทั้งยังเป็นภาพยนตร์เข้าฉายในไทย ที่ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดในปี 2563 เผยให้เห็นถึงความล้มเหลวของนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล และกลุ่มม็อบการเมือง ที่พยายามบอยคอตภาพยนตร์ ‘มู่หลาน’ แต่ไม่สำเร็จ

2. แอปพลิเคชั่นสั่งซื้อสินค้า ‘Shopee’

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในโลกของ Twitter มีกระแสแฮชแท็ก #แบนShopee จากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นแฮชแท็กที่เกิดขึ้น ภายหลังแอปพลิเคชั่น Shopee ไม่อนุญาตให้จำหน่ายสินค้าของ “คณะก้าวหน้า” ที่นำโดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แต่การรณรงค์ให้บอยคอตแอปพลิเคชั่น Shopee กลับไม่ได้สร้างผลกระทบให้กับ Shopee แต่อย่างใด

นายโทนี คาร์ตาลัคซี มองว่าการที่ผู้บริหารแอปพลิเคชั่น Shopee ไม่อนุญาตให้จำหน่ายสินค้าคณะก้าวหน้า ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว เพราะคณะก้าวหน้าตั้งใจจะใช้แอปพลิเคชั่นซื้อขายสินค้าออนไลน์ ให้กลายเป็นพื้นที่ในการปลุกระดมทางการเมือง 

เพราะการที่คณะก้าวหน้า และเครือข่ายกลุ่มการเมือง พยายามบอยคอต Shopee นอกจากจะเป็นความพยายามในการบั่นทอนธุรกิจของ Shopee แล้ว ยังเป็นความพยายามในการบั่นทอนเศรษฐกิจของไทย ทั้ง ๆ ที่การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ก็สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ มามากพอแล้ว

3. ธนาคารไทยพานิชย์ หรือ SCB (Siam Commercial Bank)

การชุมนุมครั้งใหญ่เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา นายโทนี คาร์ตาลัคซี ได้อ้างอิงรายงานข่าวจากสำนักข่าวบางกอกโพสต์ ที่ระบุว่า นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ “เพนกวิน” แกนนำม็อบปลดแอก ได้ประกาศบนเวทีการชุมนุมในท้องสนามหลวง ให้มวลชนทุกคนบอยคอตธนาคาร SCB ด้วยการถอนเงินและปิดบัญชีธนาคาร SCB เป็นเหตุให้เกิดแฮชแท็ก #แบนSCB จนติดเทรนด์อันดับต้น ๆ ใน Twitter ของไทย

แต่เมื่อตลาดหุ้นกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง ในวันจันทร์ที่ 21 กันยายน นอกจากธนาคาร SCB จะไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง จากความเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว ราคาหุ้นของ SCB ยังเพิ่มขึ้น 0.25 บาท เป็น 67.50 อีกด้วย กลายเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ความพยายามของนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ และเครือข่ายม็อบปลดแอก ประสบความล้มเหลว

บทความวิเคราะห์ของนายโทนี คาร์ตาลัคซี ทำให้เห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจนว่า การที่ม็อบปลดแอกและเครือข่ายกลุ่มการเมือง โน้มน้าวให้เกิดการแบนหรือบอยคอต ภาพยนตร์ ธุรกิจ และสถาบันการเงินในไทย ที่มาพร้อมกับแฮชแท็กหลายแสนหลายล้านใน Twitter แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นก็คือ แทบจะไม่มีผลกระทบร้ายแรงเกิดขึ้นกับธุรกิจทั้ง 3 ภาคส่วนนี้เลย แต่ในทางกลับกัน ผลประกอบการที่ได้กลับดีเกินคาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพยนตร์มู่หลาน และธนาคาร SCB

สิ่งที่นายโทนี คาร์ตาลัคซี นำเสนอมาทั้งหมดนี้ ทำให้สรุปได้ว่า กลุ่มคนที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ อย่างม็อบปลดแอก และกลุ่มการเมืองในเครือข่าย ที่พยายามบอยคอตธุรกิจภาคส่วนต่าง ๆ ของไทย แต่กลับล้มเหลวโดยสิ้นเชิงนั้น สะท้อนให้เห็นว่า ม็อบปลดแอกและเครือข่ายการเมืองกลุ่มนี้ ไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบในคนหมู่มาก ไม่ได้เป็นที่นิยมในประเทศไทย และไม่ได้เป็นตัวแทนของเสียงส่วนใหญ่อย่างที่บางคนเคยกล่าวอ้าง

——————————-
แหล่งข่าว
– https://altthainews.blogspot.com/2020/10/failed-scbshopeemulan-boycotts-reveal.html
– https://www.bangkokpost.com/business/1989167/bot-not-worried-about-banking-liquidity-amid-scb-boycott-call
– https://www.posttoday.com/finance-stock/stock/633488
——————————-
ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
Website : http://www.thailandvision.co
Facebook :  https://www.facebook.com/thvi5ion
Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision

Continue Reading

News

ฝรั่งชมไทย เอาชนะโควิดได้ ในขณะที่อเมริกาพ่ายแพ้

Published

on

คริส ปาร์กเกอร์ ยูทูเบอร์ชาวอเมริกัน ที่อาศัยอยู่ในไทย เผยความสำเร็จของประเทศไทยในการเอาชนะโควิด และสาเหตุที่ว่าทำไมอเมริกาถึงพ่ายแพ้

วันที่ 24 กรกฎาคม 2563 เพจยูทูบที่ใช้ชื่อว่า ‘Retired Working For You’ ของนายคริส ปาร์กเกอร์ (Chris Parker) ชายหนุ่มชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเขากล่าวว่า จากการที่เขายังคงสามารถออกไปใช้ชีวิตได้อย่างสนุกสนาน จึงเห็นได้ชัด ว่าประเทศไทยนั้นโชคดีมากๆ ที่สามารถจัดการโรคระบาดโควิด ให้อยู่ภายใต้การควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่ไม่ได้โชคดีเช่นนี้ โดยมีแฟนเพจหลายคนถามนายคริสว่า ทำไมประเทศไทย ถึงควบคุมโรคระบาดนี้ได้เป็นอย่างดี?

ก่อนที่อธิบายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับความสำเร็จในการควบคุมโรคของประเทศไทย นายคริสเท้าความด้วยข้อมูลสถิติตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลก พบว่า
.
สหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อสะสมไม่ต่ำกว่า 4 ล้านคน (ตัวเลขปัจจุบัน มีไม่ต่ำกว่า 7.6 ล้านคน) เป็นอันดับหนึ่งของโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,269 คน (ตัวเลขปัจจุบันคือ 3,585 คน) อยู่ในอันดับที่ 104 (อันดับปัจจุบันคือ 139) และไทยมีผู้เสียชีวิตทั้งหมดเพียง 58 ราย (ปัจจุบันคือ 59 ราย) แต่สหรัฐฯมีผู้เสียชีวิตสะสมไม่ต่ำกว่า 1.4 แสนราย (ปัจจุบันมีไม่ต่ำกว่า 2.1 แสนราย)
.
นายคริสเปรียบเทียบตัวเลขประชากร ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐฯ โดยระบุว่า ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเล็กๆ มีประชากรกว่า 70 ล้าน แต่ก็เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า สหรัฐฯมีประชากรมากกว่าไทยถึง 5 เท่า แต่จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมกลับมีมากกว่าไทยถึง 1,200 เท่า และมีผู้เสียชีวิตสะสมมากกว่าไทยถึง 2,500 เท่า
.
นายคริสกล่าวต่อไปว่า สำนักข่าวต่างประเทศส่วนใหญ่รายงานว่า ประเทศไทยสามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดได้เป็นอย่างดี ในขณะที่สถานการณ์โรคระบาดในสหรัฐฯนั้น สื่อต่างประเทศรายงานว่า สหรัฐฯไม่สามารถควบคุมโรคระบาดได้อย่างสิ้นเชิง แต่เมื่อหันมามองที่ประเทศไทยแล้ว ประเทศไทยและประเทศนิวซีแลนด์ เป็น 2 ประเทศที่ได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO) โดยส่งทีมงานมาเรียนรู้และถ่ายทำสารคดีการบริหารการจัดการโรคระบาด ในประเทศไทยและประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งสำหรับชาวอเมริกันอย่างนายคริสที่อาศัยอยู่ในไทย เขาถือว่าเขาโชคดีมากๆ
.
ชาวต่างชาติบางคนอาจคาดเดาว่า อาจเป็นเพราะประเทศไทยไม่พบผู้ติดเชื้อตั้งแต่ช่วงแรก และอาจพยายามยับยั้งไม่ให้มีการแพร่เชื้อเข้ามาภายในราชอาณาจักรไทย แต่นายคริสระบุว่า ทุกอย่างไม่ได้ราบรื่นเสมอไป เพราะไทยเป็นประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีน และประเทศไทยก็ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากจีนเป็นจำนวนมาก โดยมีชาวจีนจากเมืองอู่ฮั่นจำนวนไม่น้อย ที่เดินทางมายังประเทศไทย
.
ในช่วงแรกนั้น นายคริส ปาร์กเกอร์คาดว่า นอกจากประเทศจีนแล้ว ประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ จะเป็นประเทศที่มีการแพร่เชื้อโควิดอย่างรุนแรง แต่ปรากฏว่า วันที่ 24 กรกฎาคม เป็นวันที่ประเทศไทยไม่พบการแพร่เชื้อภายในประเทศแล้ว 7 สัปดาห์ ซึ่งทำให้นายคริสรู้สึกโชคดีมากๆ และจากการที่เขาติดตามสถาณการณ์ในประเทศไทยมาโดยตลอด เขาประเมินว่า มี 3 ปัจจัย ที่ทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จ ในการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด คือ
.

  1. รัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ
    .
    เจ้าหน้าส่วนกลางและเจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ เข้าถึงพื้นที่ทุกเขตที่มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อ พร้อมกับหน่วยงานเข้าปฏิบัติการชะล้างทำความสะอาด และฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อ ทั้งถนน ทางเดิน และสถานที่สาธารณะหลายแห่งทั่วกรุงเทพฯ ทั้งยังใช้มาตรการเคอร์ฟิวทั่วประเทศ โดยห้ามทุกคนออกนอกเคหสถานตั้งแต่เวลา 22:00 น. ถึง 04:00 น. ซึ่งในช่วงแรกที่มีการประกาศใช้เคอร์ฟิวนั้น นายคริสไม่เห็นด้วยกับการใช้เคอร์ฟิว แต่เมื่อมองย้อนกลับไป นายคริสก็มีความคิดเห็นว่าการประกาศเคอร์ฟิวมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งโรคระบาด ซึ่งภายหลังจากที่สถานการณ์โดยรวมดีขึ้นแล้ว มาตรการเคอร์ฟิวได้ถูกประกาศยกเลิกไปตั้งแต่คืนวันที่ 14 มิถุนายน 2563
    .
  2. บริษัทเอกชนและภาคธุรกิจ เตรียมพร้อมรับมือล่วงหน้า ตั้งแต่เนิ่นๆ
    .
    ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือสถานที่สำคัญหลายแห่ง ทั้งในเขตชุมชนเมืองใหญ่ และในเมืองเล็กๆนอกกรุงเทพ ล้วนแล้วมีการใช้เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิประชาชนทุกคนที่ประตูทางเข้า และมีน้ำยาแอลกอฮอล์ล้างมือจัดเตรียมไว้ให้ใช้ฟรีอีกด้วย ส่วนร้านอาหาร ร้านตัดผม หรือร้านเสริมสวย ก็มีมาตรการเว้นระยะห่างและมาตรการป้องกันที่เหมาะสม ทางด้านของโรงเรียนอนุบาล-ประถมต้น ที่ลูกสาวของนายคริสเรียนอยู่นั้น มีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และเมื่อเปิดเทอม ทุกโต๊ะของนักเรียนทุกคนก็มีการเสริมผนังพลาสติกใสเพื่อป้องกัน คล้ายกับโต๊ะของร้านอาหารหลายๆร้านในช่วงแรกที่เกิดการระบาดของโควิด
    .
  3. การสวมหน้ากาก และการเว้นระยะห่างทางสังคม
    .
    นายคริสมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า ข้อนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ทำให้ประเทศไทย สามารถเอาชนะสงครามโรคระบาดในครั้งนี้ได้ เพราะทันทีที่มีข่าวโรคระบาดเกิดขึ้น ประชาชนไทยแทบทุกคน ก็เริ่มสวมใส่หน้ากาก และเว้นระยะห่างทางสังคม ไม่เข้าใกล้กันมากจนเกินไป บวกกับวัฒนธรรมการทักทายด้วยการไหว้ของชาวไทย ที่ไม่มีการจับมือ กอด จูบ หรือสัมผัสตัวซึ่งกันและกัน โดยที่สังคมไทยเริ่มปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่เช่นนี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และประชาชนไทยส่วนใหญ่ก็เข้าใจเป็นอย่างดี ถึงความสุ่มเสี่ยง หากต้องเข้าไปในสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น จึงทำให้คนส่วนใหญ่สวมใส่หน้ากากป้องกันโรค แม้จะไม่ครบทุกคน 100% ก็ตาม
    .
    อย่างไรก็ดี นายคริสพยายามสื่อสารให้เพื่อนชาวอเมริกันของเขา ได้เข้าใจถึงความแตกต่าง ในด้านความคิดและด้านวัฒนธรรม ระหว่างชาวไทยกับชาวอเมริกัน ซึ่งบางคนอาจจะไม่เห็นด้วย และบางคนอาจไม่พอใจในแง่มุมที่เขาพยายามนำเสนอ โดยนายคริสกล่าวว่า คนอเมริกันต่อสู้เพื่ออิสรเสรีภาพของตนเอง แต่คนไทยต่อสู้ร่วมกันเป็นสังคมเดียวกัน โดยคนในสังคมไทยมีศัตรูร่วมกันก็คือโรคโควิด
    .
    ทั้งนี้นายคริส ปาร์กเกอร์ ยังเผยอีกว่า สังคมชาวอเมริกันเปลี่ยนเรื่องการสวมหน้ากากป้องกันโรค ให้กลายเป็นเรื่องการเมืองไปเสียทั้งหมด ทั้งที่การสวมหน้ากากป้องกันโรค ควรเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมควรทำ เพื่อให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย แต่การสวมหน้ากากกลับกลายเป็นเรื่องที่สังคมชาวอเมริกัน นำไปโต้เถียงกันอย่างเคร่งเครียด ให้เป็นดีเบตการเมืองเลือกฝ่ายเลือกข้าง กลายเป็นว่าการสวมหน้ากากเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสังคมชาวอเมริกัน ในขณะที่สังคมไทย แม้จะไม่เหมือนสังคมอเมริกัน แต่ก็มีความขัดแย้งทางการเมืองเช่นกัน แต่ในแง่ของปัญหาเรื่องโรคระบาดนั้น คนในสังคมไทยส่วยใหญ่ พร้อมใจกันสวมหน้ากากป้องกันโรค โดยที่รัฐบาลไทยมิได้ออกกฎข้อบังคับให้สวมหน้ากากป้องกันโรคแต่อย่างใด ซึ่งนายคริส ปาร์กเกอร์ มองว่า ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย ที่มุ่งมั่นทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมเช่นนี้ คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคระบาดได้สำเร็จ และเขาหวังว่า สถานการณ์โรคระบาดทั้งในอเมริกา และในหลายประเทศทั่วโลกกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง ในเร็วๆนี้

แหล่งข่าว

– https://youtu.be/Cpl3ov9IYIc

ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
Website : http://www.thailandvision.co
Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision

Continue Reading
Advertisement

The Latest News

Trending